องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558
วิวัฒนาการของเทคโนโลยี
วิวัฒนาการของเทคโนโลยี
1.วิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่แบ่งตามระยะเวลา แบ่งได้ 4 ยุค คือ
1.1 ยุคโบราณ ยุคแรก ๆ ประมาณ 10,000 ปี ก่อนคริสตศักราช
มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆต้องดิ้นรนหาอาหารด้วยการล่าสัตว์
เพื่อให้ชีวิตอยู่รอด มนุษย์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น ไม้ กระดูก ขนสัตว์
ใบไม้ หญ้า เพื่อการดำรงชีวิต
1.2 ยุคกลาง เป็นยุคที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องกลไกต่าง
ๆ เช่น ในประเทศจีน ใช้ระบบแม่แรงยกสิ่งของ (Hydraulic
Engineering) เพื่อใช้กับสิ่งก่อสร้าง
1.3 ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ยุคนี้เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้ามากขึ้น เป็นยุคของเทคโนโลยีพลังงาน (Energy
Technology)มีการสร้างกังหันลมและใช้พลังไอน้ำ
สำหรับการทำงานของเครื่องจักรกล
และการค้นพบความรู้เรื่องไฟฟ้าและเกิดการคิดค้นการสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
1.4 ยุคศตวรรษที่ 20 เป็นยุคของการบิน การส่งจรวด ความรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์และระเบิดปรมาณู
การประดิษฐ์ คิด ค้นวัสดุใหม่ ๆ
ขอขอบคุณเเหล่งที่มา https://sites.google.com/a/srisuk.ac.th/computer-science-ssw/raywicha-kar-ngan-xachiph-laea-thekhnoloyi-m-3/radab-khxng-thekhnoloy
ระบบเทคโนโลยี
ระบบเทคโนโลยี
แผนภาพแสดงระบบเทคโนโลยี(Technological System)
ระบบเทคโนโลยี(Technological
System) ประกอบด้วย 4 ด้าน
ได้แก่
1. ตัวป้อน(Input)
คือ
ความต้องการของมนุษย์ (Need,Want)หรือปัญหาที่ต้องการหาคำตอบเช่นความต้องการที่อยู่อาศัยเครื่องนุ่งห่มอาหารยารักษาโรค
2. กระบวนการ(Process)
คือ
ขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือตอบสนองต่อความต้องการ ซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Change) ทรัพยากรให้เป็นผลผลิต หรือผลลัพธ์ ขั้นตอนของกระบวนการจะประกอบด้วย กำหนดปัญหาหรือความต้องการ , รวบรวมข้อมูลเพิ่อแสวงหาวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ , เลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ, ออกแบบและปฏิบัติการ, ทดสอบ ,ปรับปรุงแก้ไข , ประเมินผล
3. ผลผลิตหรือผลลัพธ์ (Output or Outcome)
สิ่งที่ออกมาจากกระบวนการของระบบ
ซึ่งสามารถตอบสนองต่อตัวป้อนในระบบเทคโนโลยี เช่น สิ่งของเครื่องใช้
วิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์
4.ทรัพยากรทางเทคโนโลยี
ทรัพยากรทางเทคโนโลยี (Resources) เป็นปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการดำเนินงานของระบบ ได้แก่ คน (People) , ข้อมูลและสารสนเทศ (Data and Information)
, วัสดุ (Materials) , เครื่องมือและอุปกรณ์ (Machines and Tools) , พลังงาน
(Energy) , ทุน (Capital) หรือทรัพย์สิน (Asset) , เวลา (Time)
5.ปัจจัยที่ขัดขวางต่อเทคโนโลยี
(Constraints)
เป็นข้อจำกัด ข้อพิจารณาหรือสิ่งที่ต้องคำนึงถึงซึ่งจะทำให้ระบบทำงานได้มากน้อยต่างกัน
เช่น สภาพอากาศ ,วัฒนธรรมของสังคม ,ความเชื่อ, ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคล
เป็นต้น ตัวอย่างของสถานการณ์ที่มีปัจจัยขัดขวางทางเทคโนโลยี
ขอขอบคุณเเหล่งที่มา http://designtechnology.ipst.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=126&Itemid=107
กระบวนการเทคโนโลยี
กระบวนการเทคโนโลยี
(TECHNOLOGICAL
PROCESS)
กระบวนการเทคโนโลยีคืออะไร
ในชีวิตประจำวันของมนุษย์มีกิจกรรมต่างๆ
เกิดขึ้นมากมายตามเงื่อนไขและปัจจัยในการดำรงชีวิตของแต่ละคน
ทำให้บางครั้งมนุษย์ต้องพบเจอกับปัญหาหรือความต้องการที่จะทำให้การดำรงชีวิตดีขึ้น
เราเรียกว่า “สถานการณ์เทคโนโลยี"
การพิจารณาว่าสถานการณ์ใดเป็นสถานการณ์เทคโนโลยี
จะพิจารณาจาก 3
ประเด็นคือ
เป็นปัญหาหรือความต้องการของมนุษย์ เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
หรือเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์
การแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่พบในสถานการณ์เทคโนโลยี
จะต้องใช้ทรัพยากร ความรู้และทักษะต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องมีวิธีการหรือกระบวนการทำงานในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการอย่างเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน
ซึ่งเรียกกระบวนการนั้นว่า “กระบวนการเทคโนโลยี”
กระบวนการเทคโนโลยีมีกี่ขั้นตอน
กระบวนการเทคโนโลยี
เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์
กระบวนการเทคโนโลยี ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ (Identify the problem)
2. รวบรวมข้อมูล (Information
gathering)
3. เลือกวิธีการ (Selection)
4. ออกแบบและปฏิบัติการ (Design and making)
5. ทดสอบ (Testing)
6. ปรับปรุงแก้ไข (Modification and improvement)
ขั้นที่ 1
กำหนดปัญหาหรือความต้องการ
ขั้นตอนแรกของกระบวนการเทคโนโลยี คือ
การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ
ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจหรือวิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการหรือสถานการณ์เทคโนโลยีอย่างละเอียด
เพื่อกำหนดกรอบของปัญหาหรือความต้องการให้ชัดเจนมากขึ้น
ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
เช่น ศึกษาจากตำรา วารสาร บทความ สารานุกรม สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต
ระดมสมองจากสมาชิกในกลุ่ม โดยควรมีการรวบรวมข้อมูลรอบด้านให้ครอบคลุมปัญหาหรือความต้องการ
ซึ่งจะทำให้เราสามารถสรุปวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้น
ขั้นที่ 3 เลือกวิธีการ
การเลือกวิธีการ
เป็นการพิจารณาและเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการมากที่สุด
โดยใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกจากวิธีการที่สรุปได้ในขั้นรวบรวมข้อมูล
ประเด็นที่ควรนำมาพิจารณาคือ ข้อดี ข้อเสีย ความสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่
ความประหยัด และการนำไปใช้ได้จริงของแต่ละวิธี เช่น ทำให้ดีขึ้น
สะดวกสบายหรือรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ควรพิจารณาคัดเลือกวิธีการโดยใช้กรอบของปัญหาหรือความต้องการมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือก
ขั้นที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ
การออกแบบและปฏิบัติการเป็นการถ่ายทอดความคิดหรือลำดับความคิดหรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอน
เกี่ยวกับวิธีการ แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการโดยละเอียด โดยใช้การร่างภาพ 2 มิติ การร่างภาพ 3 มิติ การร่างภาพฉาย
แบบจำลอง หรือแบบจำลองความคิด และวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน
จากนั้นลงมือสร้างตามแนวทางที่ได้ถ่ายทอดความคิดและวางแผนการปฏิบัติงานไว้
ผลงานที่ได้อาจเป็นชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการ
ขั้นที่ 5 ทดสอบ
การทดสอบเป็นการตรวจสอบชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการที่สร้างขึ้นว่ามีความสอดคล้อง
ตามแบบที่ได้ถ่ายทอดความคิดไว้หรือไม่ สามารถทำงานหรือใช้งานได้หรือไม่
มีข้อบกพร่องอย่างไร หากผลการทดสอบพบว่า
ชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการไม่สอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานไม่ได้
หรือมีข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข จะต้องมีการบันทึกสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไว้
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่นำไปสู่การปฏิบัติงานในขั้นปรับปรุงแก้ไขต่อไป
ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแก้ไข
การปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นทดสอบว่าควรปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการในส่วนใด
ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร แล้วจึงดำเนินการปรับปรุงแก้ไขในส่วนนั้น
จนกระทั่งชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการสอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้
ทำงานหรือใช้งานได้ ในขั้นตอนนี้อาจจำเป็นต้องกลับไปที่ขั้นตอนออกแบบและปฏิบัติการอีกครั้งเพื่อถ่ายทอดความคิดใหม่หรืออาจกลับไปขั้นตอนรวบรวมข้อมูลและเลือกวิธีการที่เหมาะสมอีกครั้งก็ได้
เพื่อให้ได้สิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการที่เหมาะสมมากขึ้น
ขั้นที่ 7 ประเมินผล
การประเมินผล
เป็นการนำชิ้นงานหรือวิธีการที่ได้สร้างขึ้นไปดำเนินการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการ
และประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าชิ้นงานหรือวิธีการนั้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่
หากผลการประเมินพบว่า ชิ้นงานหรือวิธีการไม่สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้
ควรพิจารณาว่าจำเป็นต้องแก้ไขในขั้นตอนใด
เพื่อนำไปปรับปรุงตามกระบวนการเทคโนโลยีอีกครั้ง
เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ขอขอบคุณเเหล่งที่มา http://designtechnology.ipst.ac.th/index.php/?option=com_content&view=article&id=69&Itemid=108
ระดับเทคโนโลยี
ระดับเทคโนโลยี
มนุษย์ได้คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้มากขึ้น
การพัฒนาเทคโนโลยีแต่ละครั้งมีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปร่าง หน้าที่ประโยชน์ใช้สอย
ฯลฯ จากการศึกษาเรื่องวิวัฒนาการที่ผ่านมา
พบว่าเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นเริ่มตั้งแต่ระดับที่ง่าย ไม่ซับซ้อน
ไปจนถึงเทคโนโลยีที่มีการใช้ความรู้วิทยาศาสตร์และความรู้สาขาต่าง ๆ
ช่วยให้ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีนั้นสูงขึ้นและซับซ้อนขึ้น
เทคโนโลยีจึงอาจแบ่งโดยใช้องค์ความรู้ได้เป็น 3 ระดับ คือ
1. เทคโนโลยีระดับพื้นบ้าน หรือระดับพื้นฐาน เป็นเทคโนโลยีแบบดั้งเดิมที่ไม่ซับซ้อนสำหรับการดำเนินชีวิต
ผลิตจากวัสดุอุปกรณ์และทรัพยากรตลอดจนแรงงานในท้องถิ่น
เทคโนโลยีในระดับพื้นบ้านเกิดจากการลองผิดลองถูกของภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นฐาน
มีการทดลองและปรับปรุงแก้ไขด้วยตนเอง เช่น
การนวดข้าวด้วยการใช้แรงงานสัตว์หรือคนย่ำบนรวงข้าว การนวดข้าวแบบฟาดข้าวกับวัสดุต่าง
ๆ ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างเทคโนโลยีระดับพื้นฐาน หรือระดับพื้นบ้าน
2. เทคโนโลยีระดับกลาง เกิดจากการปรับปรุง
พัฒนาเทคโนโลยีระดับพื้นบ้านขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการ
การดำรงชีวิตให้สะดวกสบายขึ้น เช่น การนวดข้าวโดยใช้เครื่องยนต์ขนาดเล็ก
ซึ่งสามารถนวดข้าวได้เร็วกว่าการใช้แรงงานจากสัตว์หรือคน
3.
เทคโนโลยีระดับสูง เป็นเทคโนโลยีที่นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และความรู้สาขาต่าง ๆ
ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นมาใช้เพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์จนได้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
เช่น เครื่องเกี่ยวข้าวพร้อมกับนวดข้าว นอกจากจะทำการนวดข้าวแล้ว
ยังแยกเมล็ดข้าวเปลือกออกจากฟางข้าว
นอกจากนี้อาจมีการใส่ระบบนำทางเพื่อช่วยในการคำนวณเวลาที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวอีกด้วย
ขอขอบคุณเเหล่งที่มา http://www.krukaewta.net/web1/ng23101/unit4/u4_techno4_level.html
ขอขอบคุณเเหล่งที่มา http://www.krukaewta.net/web1/ng23101/unit4/u4_techno4_level.html
ประโยชน์ของการใช้งานตอมพิวเตอร์
ประโยชน์ของการใช้งานตอมพิวเตอร์
1.ประโยชน์ด้านการศึกษา ใช้เพื่องานด้านการเรียนการสอนในหลายรูปแบบ
เช่นการ
นำบทเรียน การผลิตสื่อการสอน การใช้ซีดีรอมสำหรับการเรียนรู้
เกมเพื่อการศึกษาหรือ
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2.ด้านความบันเทิง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความสนุกสนานบันเทิง
เช่น เล่นเกม
ฟังเพลงชมภาพยนต์
3.ด้านการเงิน การธนาคาร ใช้ในการเบิก -
ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การโอนเงินด้วย
ระบบด้วยอัตโนมัติโดยโอนเงินจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ การดูข้อมูลตลาดหุ้นการทำกราฟแสดงยอดขาย
4.ด้านการสื่อสารและคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต
สื่อสาร
ถ่ายทอดผ่านดาวเทียมการติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์
การคมนาคมทางเรือ เครื่องบิน
และรถไฟฟ้า
5.ด้านศิลปะและการออกแบบ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวาดรูปการ์ตูนออกแบบ
งานและการสร้างภาพกราฟิกหรือการตกแต่งภาพในคอมพิวเตอร์
6.ด้านการแพทย์์ ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยงานด้านการแพทย์หลายด้าน
เช่น การเก็บประวัติคนไข้
การใช้ทดลองประกอบการวินิจฉันของแพทย์ใช้ในการตรวจ
เลือก ตรวจปัสสาวะ
การผ่าตัดหัวใจการตรวจสอบห้องพักผู้ป่วยว่าว่างหรือไม่ การ
ควบคุมแสงเลเซอร์การเอ็กซ์เรย์ การตรวจคลื่อนสมองคลื่นหัวใจ
เป็นต้น
7.ด้านวิทยาศาสตร์และเคมี ใช้ในการวิเคราะห์สูตรทางเคมีการคำนวณสูตรทาง
วิทยาศาสตร์การค้นคว้าทดลองในห้องวิทยาศาสตร์
การคำนวณเกี่ยวกับระบบสุริยะ
จักรวาลและการเกิดปรากฏการณ์เกี่ยวกับดวงดาวต่างๆ
ขอขอบคุณเเหล่งที่มา http://jsbg.joseph.ac.th/pm08/alesson/computer%20p2/__5.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)