วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558


องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ 







ชื่ออุปกรณ์ต่างๆ 


วิวัฒนาการของเทคโนโลยี

วิวัฒนาการของเทคโนโลยี

 1.วิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่แบ่งตามระยะเวลา แบ่งได้ 4 ยุค คือ
1.1 ยุคโบราณ ยุคแรก ๆ ประมาณ 10,000 ปี ก่อนคริสตศักราช มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆต้องดิ้นรนหาอาหารด้วยการล่าสัตว์ เพื่อให้ชีวิตอยู่รอด มนุษย์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น ไม้ กระดูก ขนสัตว์ ใบไม้ หญ้า เพื่อการดำรงชีวิต
1.2 ยุคกลาง  เป็นยุคที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องกลไกต่าง ๆ เช่น ในประเทศจีน ใช้ระบบแม่แรงยกสิ่งของ (Hydraulic Engineering) เพื่อใช้กับสิ่งก่อสร้าง
1.3 ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม  ยุคนี้เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้ามากขึ้น เป็นยุคของเทคโนโลยีพลังงาน (Energy Technology)มีการสร้างกังหันลมและใช้พลังไอน้ำ สำหรับการทำงานของเครื่องจักรกล และการค้นพบความรู้เรื่องไฟฟ้าและเกิดการคิดค้นการสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
1.4 ยุคศตวรรษที่ 20  เป็นยุคของการบิน การส่งจรวด ความรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์และระเบิดปรมาณู การประดิษฐ์ คิด ค้นวัสดุใหม่ ๆ 
ขอขอบคุณเเหล่งที่มา  https://sites.google.com/a/srisuk.ac.th/computer-science-ssw/raywicha-kar-ngan-xachiph-laea-thekhnoloyi-m-3/radab-khxng-thekhnoloy



ระบบเทคโนโลยี


    ระบบเทคโนโลยี 




  แผนภาพแสดงระบบเทคโนโลยี(Technological System)   

ระบบเทคโนโลยี(Technological System)  ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่
1. ตัวป้อน(Input) 
    คือ ความต้องการของมนุษย์ (Need,Want)หรือปัญหาที่ต้องการหาคำตอบเช่นความต้องการที่อยู่อาศัยเครื่องนุ่งห่มอาหารยารักษาโรค  

2. กระบวนการ(Process)
     คือ ขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือตอบสนองต่อความต้องการ ซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Change) ทรัพยากรให้เป็นผลผลิต หรือผลลัพธ์ ขั้นตอนของกระบวนการจะประกอบด้วย กำหนดปัญหาหรือความต้องการ , รวบรวมข้อมูลเพิ่อแสวงหาวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ ,  เลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ, ออกแบบและปฏิบัติการ, ทดสอบ  ,ปรับปรุงแก้ไข ,  ประเมินผล 

3. ผลผลิตหรือผลลัพธ์ (Output or Outcome) 
     สิ่งที่ออกมาจากกระบวนการของระบบ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อตัวป้อนในระบบเทคโนโลยี เช่น สิ่งของเครื่องใช้ วิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์

4.ทรัพยากรทางเทคโนโลยี
    ทรัพยากรทางเทคโนโลยี (Resources) เป็นปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการดำเนินงานของระบบ ได้แก่ คน (People) , ข้อมูลและสารสนเทศ (Data and Information)  ,   วัสดุ (Materials) ,  เครื่องมือและอุปกรณ์ (Machines and Tools) ,  พลังงาน (Energy) ,  ทุน (Capital) หรือทรัพย์สิน (Asset) ,  เวลา (Time)

5.ปัจจัยที่ขัดขวางต่อเทคโนโลยี (Constraints) 
    เป็นข้อจำกัด  ข้อพิจารณาหรือสิ่งที่ต้องคำนึงถึงซึ่งจะทำให้ระบบทำงานได้มากน้อยต่างกัน เช่น สภาพอากาศ  ,วัฒนธรรมของสังคม ,ความเชื่อ, ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคล เป็นต้น ตัวอย่างของสถานการณ์ที่มีปัจจัยขัดขวางทางเทคโนโลยี
ขอขอบคุณเเหล่งที่มา http://designtechnology.ipst.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=126&Itemid=107






กระบวนการเทคโนโลยี

กระบวนการเทคโนโลยี (TECHNOLOGICAL PROCESS)


กระบวนการเทคโนโลยีคืออะไร
ในชีวิตประจำวันของมนุษย์มีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมายตามเงื่อนไขและปัจจัยในการดำรงชีวิตของแต่ละคน ทำให้บางครั้งมนุษย์ต้องพบเจอกับปัญหาหรือความต้องการที่จะทำให้การดำรงชีวิตดีขึ้น เราเรียกว่า “สถานการณ์เทคโนโลยี"
การพิจารณาว่าสถานการณ์ใดเป็นสถานการณ์เทคโนโลยี จะพิจารณาจาก 3 ประเด็นคือ เป็นปัญหาหรือความต้องการของมนุษย์ เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม หรือเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์
การแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่พบในสถานการณ์เทคโนโลยี จะต้องใช้ทรัพยากร ความรู้และทักษะต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องมีวิธีการหรือกระบวนการทำงานในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการอย่างเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน ซึ่งเรียกกระบวนการนั้นว่า “กระบวนการเทคโนโลยี


 processtechnology



กระบวนการเทคโนโลยีมีกี่ขั้นตอน

กระบวนการเทคโนโลยี เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์ กระบวนการเทคโนโลยี ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ (Identify the problem)
2. รวบรวมข้อมูล (Information gathering)
3. เลือกวิธีการ (Selection)
4. ออกแบบและปฏิบัติการ (Design and making)
5. ทดสอบ (Testing)
6. ปรับปรุงแก้ไข (Modification and improvement)
7. ประเมินผล (Assessment)

ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาหรือความต้องการ
ขั้นตอนแรกของกระบวนการเทคโนโลยี คือ การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจหรือวิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการหรือสถานการณ์เทคโนโลยีอย่างละเอียด เพื่อกำหนดกรอบของปัญหาหรือความต้องการให้ชัดเจนมากขึ้น

ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ศึกษาจากตำรา วารสาร บทความ สารานุกรม สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต ระดมสมองจากสมาชิกในกลุ่ม โดยควรมีการรวบรวมข้อมูลรอบด้านให้ครอบคลุมปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งจะทำให้เราสามารถสรุปวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้น

ขั้นที่ 3 เลือกวิธีการ
การเลือกวิธีการ เป็นการพิจารณาและเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการมากที่สุด โดยใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกจากวิธีการที่สรุปได้ในขั้นรวบรวมข้อมูล ประเด็นที่ควรนำมาพิจารณาคือ ข้อดี ข้อเสีย ความสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ ความประหยัด และการนำไปใช้ได้จริงของแต่ละวิธี เช่น ทำให้ดีขึ้น สะดวกสบายหรือรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ควรพิจารณาคัดเลือกวิธีการโดยใช้กรอบของปัญหาหรือความต้องการมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือก

ขั้นที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ
การออกแบบและปฏิบัติการเป็นการถ่ายทอดความคิดหรือลำดับความคิดหรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอน เกี่ยวกับวิธีการ แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการโดยละเอียด โดยใช้การร่างภาพ 2 มิติ การร่างภาพ 3 มิติ การร่างภาพฉาย แบบจำลอง หรือแบบจำลองความคิด และวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน จากนั้นลงมือสร้างตามแนวทางที่ได้ถ่ายทอดความคิดและวางแผนการปฏิบัติงานไว้ ผลงานที่ได้อาจเป็นชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการ

ขั้นที่ 5 ทดสอบ
การทดสอบเป็นการตรวจสอบชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการที่สร้างขึ้นว่ามีความสอดคล้อง ตามแบบที่ได้ถ่ายทอดความคิดไว้หรือไม่ สามารถทำงานหรือใช้งานได้หรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร หากผลการทดสอบพบว่า ชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการไม่สอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานไม่ได้ หรือมีข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข จะต้องมีการบันทึกสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไว้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่นำไปสู่การปฏิบัติงานในขั้นปรับปรุงแก้ไขต่อไป

ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแก้ไข
การปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นทดสอบว่าควรปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการในส่วนใด ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร แล้วจึงดำเนินการปรับปรุงแก้ไขในส่วนนั้น จนกระทั่งชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการสอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานได้ ในขั้นตอนนี้อาจจำเป็นต้องกลับไปที่ขั้นตอนออกแบบและปฏิบัติการอีกครั้งเพื่อถ่ายทอดความคิดใหม่หรืออาจกลับไปขั้นตอนรวบรวมข้อมูลและเลือกวิธีการที่เหมาะสมอีกครั้งก็ได้ เพื่อให้ได้สิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการที่เหมาะสมมากขึ้น

ขั้นที่ 7 ประเมินผล
การประเมินผล เป็นการนำชิ้นงานหรือวิธีการที่ได้สร้างขึ้นไปดำเนินการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการ และประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าชิ้นงานหรือวิธีการนั้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ หากผลการประเมินพบว่า ชิ้นงานหรือวิธีการไม่สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ ควรพิจารณาว่าจำเป็นต้องแก้ไขในขั้นตอนใด เพื่อนำไปปรับปรุงตามกระบวนการเทคโนโลยีอีกครั้ง เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขอขอบคุณเเหล่งที่มา http://designtechnology.ipst.ac.th/index.php/?option=com_content&view=article&id=69&Itemid=108





ระดับเทคโนโลยี

ระดับเทคโนโลยี 

  มนุษย์ได้คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้มากขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยีแต่ละครั้งมีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปร่าง หน้าที่ประโยชน์ใช้สอย ฯลฯ จากการศึกษาเรื่องวิวัฒนาการที่ผ่านมา พบว่าเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นเริ่มตั้งแต่ระดับที่ง่าย ไม่ซับซ้อน ไปจนถึงเทคโนโลยีที่มีการใช้ความรู้วิทยาศาสตร์และความรู้สาขาต่าง ๆ ช่วยให้ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีนั้นสูงขึ้นและซับซ้อนขึ้น เทคโนโลยีจึงอาจแบ่งโดยใช้องค์ความรู้ได้เป็น 3 ระดับ คือ

    1. เทคโนโลยีระดับพื้นบ้าน หรือระดับพื้นฐาน เป็นเทคโนโลยีแบบดั้งเดิมที่ไม่ซับซ้อนสำหรับการดำเนินชีวิต ผลิตจากวัสดุอุปกรณ์และทรัพยากรตลอดจนแรงงานในท้องถิ่น เทคโนโลยีในระดับพื้นบ้านเกิดจากการลองผิดลองถูกของภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นฐาน มีการทดลองและปรับปรุงแก้ไขด้วยตนเอง เช่น การนวดข้าวด้วยการใช้แรงงานสัตว์หรือคนย่ำบนรวงข้าว การนวดข้าวแบบฟาดข้าวกับวัสดุต่าง ๆ ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างเทคโนโลยีระดับพื้นฐาน หรือระดับพื้นบ้าน

    2. เทคโนโลยีระดับกลาง เกิดจากการปรับปรุง พัฒนาเทคโนโลยีระดับพื้นบ้านขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการ การดำรงชีวิตให้สะดวกสบายขึ้น เช่น การนวดข้าวโดยใช้เครื่องยนต์ขนาดเล็ก ซึ่งสามารถนวดข้าวได้เร็วกว่าการใช้แรงงานจากสัตว์หรือคน

 3. เทคโนโลยีระดับสูง เป็นเทคโนโลยีที่นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และความรู้สาขาต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นมาใช้เพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์จนได้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น เครื่องเกี่ยวข้าวพร้อมกับนวดข้าว นอกจากจะทำการนวดข้าวแล้ว ยังแยกเมล็ดข้าวเปลือกออกจากฟางข้าว นอกจากนี้อาจมีการใส่ระบบนำทางเพื่อช่วยในการคำนวณเวลาที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวอีกด้วย

ขอขอบคุณเเหล่งที่มา http://www.krukaewta.net/web1/ng23101/unit4/u4_techno4_level.html










ประโยชน์ของการใช้งานตอมพิวเตอร์

ประโยชน์ของการใช้งานตอมพิวเตอร์ 

1.ประโยชน์ด้านการศึกษา ใช้เพื่องานด้านการเรียนการสอนในหลายรูปแบบ เช่นการ
นำบทเรียน การผลิตสื่อการสอน การใช้ซีดีรอมสำหรับการเรียนรู้ เกมเพื่อการศึกษาหรือ
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

2.ด้านความบันเทิง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความสนุกสนานบันเทิง เช่น เล่นเกม
ฟังเพลงชมภาพยนต์

3.ด้านการเงิน การธนาคาร ใช้ในการเบิก - ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การโอนเงินด้วย
ระบบด้วยอัตโนมัติโดยโอนเงินจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ การดูข้อมูลตลาดหุ้นการทำกราฟแสดงยอดขาย

4.ด้านการสื่อสารและคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต สื่อสาร
ถ่ายทอดผ่านดาวเทียมการติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์ การคมนาคมทางเรือ เครื่องบิน
และรถไฟฟ้า

5.ด้านศิลปะและการออกแบบ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวาดรูปการ์ตูนออกแบบ
งานและการสร้างภาพกราฟิกหรือการตกแต่งภาพในคอมพิวเตอร์

6.ด้านการแพทย ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยงานด้านการแพทย์หลายด้าน
เช่น การเก็บประวัติคนไข้ การใช้ทดลองประกอบการวินิจฉันของแพทย์ใช้ในการตรวจ
เลือก ตรวจปัสสาวะ การผ่าตัดหัวใจการตรวจสอบห้องพักผู้ป่วยว่าว่างหรือไม่ การ
ควบคุมแสงเลเซอร์การเอ็กซ์เรย์ การตรวจคลื่อนสมองคลื่นหัวใจ เป็นต้น

7.ด้านวิทยาศาสตร์และเคมี ใช้ในการวิเคราะห์สูตรทางเคมีการคำนวณสูตรทาง
วิทยาศาสตร์การค้นคว้าทดลองในห้องวิทยาศาสตร์ การคำนวณเกี่ยวกับระบบสุริยะ
จักรวาลและการเกิดปรากฏการณ์เกี่ยวกับดวงดาวต่างๆ

ขอขอบคุณเเหล่งที่มา http://jsbg.joseph.ac.th/pm08/alesson/computer%20p2/__5.html